การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์
โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก
และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน
ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้น
พบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง
ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์
หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง
ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
1.1 หลักฐานชั้นต้น
1.2 หลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
หมายถึง
คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง
หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร
พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ
1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources
หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น
หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า
หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ
ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ
หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน
โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี
จิตรกรรม ฯลฯ
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น